ไทย  | อังกฤษ | ญี่ปุ่น
 


ตรวจคัดกรองหาสารก่อภูมิแพ้โดยการเจาะเลือด

 

 

“โรคภูมิแพ้ เกิดจากการตอบสนองของร่างกาย เมื่อสัมผัส หรือรับสารก่อภูมิแพ้นั้นเข้าไป
ซึ่งพบว่าสารก่อภูมิแพ้นั้นมีมากมายหลายชนิด ซึ่งมีทั้งจากอาหาร และสิ่งแวดล้อม

             ในปัจจุบันนี้ ทางโรงพยาบาลลานนา ได้นำวิธีการตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด เพื่อหาปริมาณสารเคมีในเลือด หรืออิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) ชนิดที่จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด (Specific IgE) กล่าวคือ เจาะเลือดหาค่าการแพ้สารแต่ละชนิดอย่างละเอียดในห้องปฏิบัติการ โดยผลตรวจจะทำให้แพทย์ประเมินได้ว่า ผู้ป่วยนั้นแพ้สารชนิดใดๆ บ้าง และมากน้อยเพียงใด  ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่ายกาย ใช้เพียงการเจาะเลือด ตรวจไม่นาน ไม่เสี่ยงต่อการแพ้ ใช้เลือดน้อย ซึ่งผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องงดยาแก้แพ้ก่อนตรวจ และที่สำคัญการตรวจแบบนี้ ยังสามารถหาสารที่ผู้ป่วยแพ้ได้อีกหลายชนิด ได้อีกด้วย

การสัมผัสและการสูดดม

  1. กระถินณรงค์ (Acacia Auriculoformis)
  2. ขนนก (Cage Birds)
  3. รังแค ขน น้ำลายแมว (Cat)
  4. รังแค ขน น้ำลายสุนัข (Dog)
  5. ต้นไม้ผสม (Tree Mix)
  6. นุ่น (Kapok)
  7. ปาล์มน้ำมัน (Oil Palm)
  8. ผิวหนังกระต่าย (Rabbit Epithelium)
  9. ผิวหนังหนูตะเภา (Guinea Pig Epithelium)
  10. ผิวหนังแฮมสเตอร์ (Hamster Epithelium)
  11. ผิวหนังหนูบ้าน (Mouse Epithelium)
  12. แมลงสาป (German Cockroach)
  13. ยีสต์ (Candida Albicans)
  14. ไรฝุ่น (House Dust Mites Mix)
  15. รา (Aureobasidium Pulluians)
  16. สนทะเล (Australian Pine)
  17. สปอร์เชื้อราเพนนิซิลเลีย (Penicillia)
  18. สปอร์เชื้อรารวม (Mould Mix)
  19. สปอร์รา (Curvularia Spicifera)
  20. หญ้าผสม (Mixed Grasses)

อาหาร

  1. กุ้งฝอย (Shrimp)
  2. กุ้งนาง (Prawn)
  3. กุ้งมังกร (Lobster)
  4. ข้าว (Rice)
  5. ข้าวสาลีี (Wheat Flour)
  6. ไข่ดาว (Egg White)
  7. ไข่แดง (Egg Yolk)
  8. งา (Sesame)
  9. ช็อคโกแลต (Chocolate)
  10. ถั่วลิสง (Peanut)
  11. ถั่งเหลือง (Soya Bean)
  12. ถั่วเฮเซล (Hazelnut)
  13. นมวัว (Milk)
  14. เนื้อไก่ (Chicken)
  15. เนื้อวัวปรุงสุก (Cooked Beef)
  16. เนื้อหมูปรุงสุก (Cooked Pork)
  17. ปลา (Fish Mix)
  18. ปู (Crab)
  19. ผงชูรส (Glutamate)
  20. อาหารทะเล (Shellfish Mix)

           หากท่านใดที่มีอาการผิดปกติ ไม่ว่าจะไปสัมผัส หรือทานอาหาร แล้วเกิดอาการแพ้ อย่านิ่งนอนใจนะครับ ควรมาพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย หาสารก่อภูมิแพ้ เพื่อนำไปสู่การวางแผนการรักษาได้แม่นยำ และตรงจุด รวมถึงตัวผู้ป่วยเอง ก็จะทราบว่าควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือทานอาหารประเภทใดที่ทำให้เกิดอาการแพ้”

ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลลานนา ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 052-134-777


ข้อมูลอัพเดท ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2562

Share



 

 

 

        

   บทความเพื่อสุขภาพ
   คลิปรายการสุขภาพ
   นักลงทุนสัมพันธ์
   CSR ลานนาเพื่อสังคม
   แผนกบริการ
   คลินิกพิเศษ
   ร่วมงานกับเรา
   ข่าวสารลานนา
   สิทธิประโยชน์ส่วนลด
    
        
  ศูนย์โรคปวดหลัง
   ศูนย์บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ
   ศูนย์มะเร็งนรีเวช
   ศูนย์สูตินรีเวช
   ศูนย์เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
   ศูนย์กุมารเวชกรรม
   ศูนย์อายุรกรรม
   ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉิน
   ศูนย์ทันตกรรม
   ศูนย์โรคปวดท้อง
   ศูนย์ตรวจสุขภาพ
   ศูนย์ศัลยกรรมส่องกล้อง

                 

 
designed by Lanna Hospital